วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)


ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล
(Information Processing Theory)
           ทิศนา แขมมณี. (2553: 80). ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลไว้ดังนี้
        ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฎีนี้เริ่มได้รับนิยมมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 จวบจนปัจจุบัน โดยมีผู้เรียกชื่อในภาษาไทยหลายเชื่อ เช่น ทฤษฎีการประมวลข้อมูลข่าวสาร ทฤษฎีการประมวลข้อมูลสารสนเทศ ฯลฯ  ในที่นี่ ผู้เขียนขอเรียกว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เพราะคิดว่ามีความหมายตรงกับหลักทฤษฎีและเข้าใจได้ง่าย ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
คลอสเมียร์ ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้คือ
                1) การรับข้อมูล โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
                2) การเข้ารหัส โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์
                3) การส่งข้อมูลออก โดยผ่านทางอุปกรณ์
คลอสไมเออร์ ได้อธิบายกระบวนการประมวลข้อมูล โดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือการรู้จักและความใส่ใจของบุคคลที่รับสิ่งเร้า
ชุติมา   สดเจริญ. ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลเป็นกระบวนการทางสมองในการประมวลผลข้อมูล เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ เกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฎีเริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950 จนถึงปัจจุบัน ชื่อในภาษาไทยหลายชื่อ เช่น ทฤษฎีประมวลสารข้อมูลข่าวสาร ทฤษฎีการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศ ในที่นี้ จะใช้เรียกว่าทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล
http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=294321/. ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น  จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย  หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ  ได้เป็นเวลานาน  สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding)  เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว  วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การท่องจำซ้ำๆ  การทบทวน  หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด

สรุป
จากทฤษฎีข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (Information Processing Theory)  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  ให้ความสำคัญกับการทำงานของสมอง และเชื่อว่าสมองมนุษย์คล้ยการทงานของ CPU คอมพิวเตอร์ ทฤษฏีนี้ เชื่อว่าถ้าเราสนใจอะไรจะถูกเก็บไว้ในสมองในหน่วยความจำ มีทั้งความจำระยะสั้น และความจำระยะยาว  หากต้องการเก็บไว้ในความจำระยะยาว ก็ต้องมีการเข้ารหสของข้อมูล เช่น การท่องจำ การทบทวน ตัวอย่างก็คือ การจำแม่สูตรคูณได้ ซึ่งคลอสเมียร์ ได้อธิบายเปรียบเทียบการทำงานของสมองกับคอมพิวเตอร์ มี 3 ขั้นตอน  คือ
                1) การรับข้อมูล โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
                2) การเข้ารหัส โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์
                3) การส่งข้อมูลออก โดยผ่านทางอุปกรณ์

ที่มา  
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
ชุติมา   สดเจริญ. https://www.gotoknow.org/posts/547007. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561.
http://oknation.nationtv.tv/blog/print.php?id=294321/. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น