วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

รูปแบบการจัดการเรียนรู้/เทคนิคการสอน

รูปแบบการจัดการเรียนรู้/เทคนิคการสอน
ปภัสรา  โคตะขุน. ได้กล่าวถึงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ว่า มีรูปแบบการเรียนการสอน คือ
1. การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method)
2. วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา (CIPPA MODAL)
3. วิธีสอนแบบโครงงาน (Project Method)
4. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
5. การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)
6. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive  Method)
7. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Induction  Method)
8. การค้นหารูปแบบ (Pattern  Seeking)
9. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry  Process)
10. วิธีสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)
11. วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน
12. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method)
13. วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)
14. วิธีสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing Method)
15. วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
16. วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method)
17. วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง (Laboratory Method)
18. วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method)
19. วิธีสอนตามคาดหวัง (Expectation Method)
20. วิธีสอนแบบโซเครติส (Socretis Method) 
21. วิธีสอนแบบประสาทสัมผัส ( Method of Sense Realism)
22. วิธีสอนด้วยสิ่งของหรือวัตถุ
23. วิธีสอนแบบแฮร์บาร์ต (Herbart Method)
24. วิธีสอนแบบกิจกรรม (Self-Activity Method)
25. วิธีสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving Method)
26. วิธีสอนแบบดัลตัน (Dalton Laboratory Plan)
27. วิธีสอนแบบวินเนทก้า (The Winnetka Plan)
28. วิธีสอนแบบนิเทศ (Supervised Plan)
29. วิธีสอนแบบใช้ครูพี่เลี้ยง (Tutorial Method)
30. วิธีสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ (Audio-Visual Meterial of Instruction Method)
31. วิธีสอนแบบทีม (Team Teaching Method)
32. วิธีสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching Method)
33. วิธีสอนแบบอริยสัจ
34. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มระดมพลังสมอง
35. วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method)
36. วิธีสอนแบบสาธิต (Demonstration Method)
37. การสอนแบบบูรณาการ (Integration Instruction)
38. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์ ( Jigsaw )
39. การสอนแบบเอกัตภาพ ( Individualized Instruction )
40. วิธีธรรมชาติ ( Natural Method )
http://sundaytutor.blogspot.com/2011/08/blog-post_31.html. ได้กล่าวถึงเทคนิคการสอนว่า มีเทคนิคการสอน คือ
1. เทคนิคการสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน ( Co–operative Leanning )
2. เทคนิคการสอนแบบอุปนัย ( Inductive Method )
3. เทคนิคการสอนแบบนิรนัย ( Deductive Method )
4. เทคนิคการสอนแบบระดมพลังสมอง ( Brainstorming )
5. วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ ( Practice )
6. วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ( Simulation )
7. วิธีสอนแบบสาธิต ( Demonstration Method )
8. วิธีสอนแบบโครงการ ( Project Method )
9. เทคนิคการอภิปรายแบบอ่างปลา
10. วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง
11. วิธีสอนโดยใช้เกม
12. การสอนโดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map )
13. การเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา ( CIPPA Model )
https://www.gotoknow.org/posts/545016. ได้กล่าวถึงรูปแบบการเรียนการสอนว่า มีรูปแบบการเรียนการสอน คือ
1. รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์  (Concept Attainment Model)
2. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกานเย  (Gagne's Instructional Model)
3. รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำ (Memory Model)
4. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizer Instruction Model)
5. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยของบลูมและคณะ
6. รูปแบบการเรียนการสอนโดยซักค้าน (Jurisprudential Model)
7. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ (Role Playing Modeal)
8. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน
(Simpson's Model)
9. รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ (Harrow's Model)
10. รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Davie's Model)
11. รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม (Group Investigation Instructional Model)
12. รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดอุปนัย (Inductive Thinking Instructional Model)
13. รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ (Synectics           Instructional Model)
14. รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ (Torrance's Future Problem Solving Instructional Model)
15. รูปแบบการเรียนการสอนทางตรง (Direct Instruction Model)
16. รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างเรื่อง (Storyline Model)
17. รูปแบบการเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
18. รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Instructional Models of Cooperative Learning)
สรุป
        จากข้อความข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้หรือเทคนิคการสอน 60 รูปแบบ คือ
1. การจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questioning Method)
2. วิธีสอนแบบโมเดลซิปปา (CIPPA MODAL)
3. วิธีสอนแบบโครงงาน (Project Method)
4. การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
5. การจัดการเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery Method)
6. การจัดการเรียนรู้แบบนิรนัย (Deductive  Method)
7. การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Induction  Method)
8. การค้นหารูปแบบ (Pattern  Seeking)
9. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry  Process)
10. วิธีสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)
11. วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน
12. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มทำงาน (Committee Work Method)
13. วิธีสอนแบบหน่วย (Unit Teaching Method)
14. วิธีสอนแบบแสดงบทบาท (Role Playing Method)
15. วิธีสอนแบบวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)
16. วิธีสอนแบบบรรยาย (Lecture Method)
17. วิธีสอนแบบปฏิบัติการหรือการทดลอง (Laboratory Method)
18. วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method)
19. วิธีสอนตามคาดหวัง (Expectation Method)
20. วิธีสอนแบบโซเครติส (Socretis Method) 
21. วิธีสอนแบบประสาทสัมผัส ( Method of Sense Realism)
22. วิธีสอนด้วยสิ่งของหรือวัตถุ
23. วิธีสอนแบบแฮร์บาร์ต (Herbart Method)
24. วิธีสอนแบบกิจกรรม (Self-Activity Method)
25. วิธีสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving Method)
26. วิธีสอนแบบดัลตัน (Dalton Laboratory Plan)
27. วิธีสอนแบบนิเทศ (Supervised Plan)
28. วิธีสอนแบบใช้ครูพี่เลี้ยง (Tutorial Method)
29. วิธีสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ (Audio-Visual Meterial of Instruction Method)
30. วิธีสอนแบบทีม (Team Teaching Method)
31. วิธีสอนแบบจุลภาค (Micro-Teaching Method)
32. วิธีสอนแบบอริยสัจ
33. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มระดมพลังสมอง
34. วิธีสอนแบบเอ็กซ์พลิซิท (Explicit Teaching Method)
35. วิธีสอนแบบสาธิต ( Demonstration Method )
36. การสอนแบบบูรณาการ (Integration Instruction)
37. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์ ( Jigsaw )
38. การสอนแบบเอกัตภาพ ( Individualized Instruction )
39. วิธีธรรมชาติ ( Natural Method )
40. เทคนิคการสอนแบบทำงานรับผิดชอบร่วมกัน ( Co – operative Leanning )
41. วิธีการสอนโดยการลงมือปฏิบัติ ( Practice )
42. วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ( Simulation )
43. เทคนิคการอภิปรายแบบอ่างปลา
44. วิธีสอนโดยใช้กรณีตัวอย่าง
45. วิธีสอนโดยใช้เกม
46. การสอนโดยใช้แผนที่ความคิด ( Mind Map )
47. รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์  (Concept Attainment Model)
48. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดของกานเย  (Gagne's Instructional Model)
49. รูปแบบการเรียนการสอนเน้นความจำ (Memory Model)
50. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผังกราฟิก (Graphic Organizer Instruction Model)
51. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาด้านจิตพิสัยของบลูมและคณะ
52. รูปแบบการเรียนการสอนโดยซักค้าน (Jurisprudential Model)
53. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (Simpson's Model)
54. รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ (Davie's Model)
55. รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการสืบสอบและแสวงหาความรู้เป็นกลุ่ม (Group Investigation Instructional Model)
56. รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ (Synectics Instructional Model)
57. รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ (Torrance's Future Problem Solving Instructional Model)
58. รูปแบบการเรียนการสอนทางตรง (Direct Instruction Model)
59. รูปแบบการเรียนการสอนโดยสร้างเรื่อง (Storyline Model)
60. รูปแบบการเรียนการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT
ที่มา
ปภัสรา  โคตะขุน. https://sites.google.com/site/prapasara/15-1. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561.
http://sundaytutor.blogspot.com/2011/08/blog-post_31.html. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561.
https://www.gotoknow.org/posts/545016. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2561.

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of cooperative or collaboration)



ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
(Theory of cooperative or collaboration)
ทิศนา แขมมณี. (2554:98-102). ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักการศึกษาคนสำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบนี้คือ สลาวิน ( Slavin ) เดวิด จอห์นสัน ( David Johnson) และรอเจอร์ จอห์นสัน ( Roger Johnson ) เขากล่าวว่า ในการจัดการเรียนการสอนโดยทั่วไป เรามักจะไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนเป็นมิติที่มักถูกละเลยหรือมองข้ามไปทั้ง ๆ ที่มีผลการวิจัยชี้ชัดเจนว่า ความรู้สึกของผู้เรียนต่อตนเอง ต่อโรงเรียน ครูและเพื่อนร่วมชั้น มีผลต่อการเรียนมาก จอห์นสัน และจอห์นสัน ( Johnson and Johnson , 1994 : 31 – 32 ) กล่าวว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ
1. ลักษณะแข่งขันกัน
2. ลักษณะต่างคนต่างเรียน
3. ลักษณะร่วมมือกัน หรือ ช่วยกันในการเรียนรู้
องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1. การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน ( positive interdependence )
2. การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด ( face-to-face promotive interaction )
3. ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน ( individual accountability )
4. การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย ( interpersonal and small-group skills )
5. การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม ( group processing )
ผลดีของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1. มีความพยายามจะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น
2. มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น
3. มีสุขภาพจิตดีขึ้น
ประเภทของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1. กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ ( formal cooperative learning groups )
2. กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ( informal cooperative learning groups )
3. กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร ( cooperative base groups )
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
1. ด้านการวางแผนการจัดการเรียนการสอน
1.1    กำหนดจุดมุ่งหมายของบทเรียนทั้งทางด้านความรู้และทักษะกระบวนการต่าง ๆ
1.2    กำหนดขนาดของกลุ่ม กลุ่มควรมีขนาดเล็กประมาณ 3 – 6 คน กลุ่มขนาด 4 คนจะเป็นขนาดที่เหมาะสมที่สุด
1.3    กำหนดองค์ประกอบของกลุ่ม โดนทั่วไปกลุ่มจะต้องประกอบไปด้วยสมาชิกที่คละกันในด้านต่าง ๆ เช่น เพศ ความสามารถ ความถนัด เป็นต้น
1.4    กำหนดบทบาทของสมาชิกแต่ละตนในกลุ่ม
1.5    จัดสถานที่ให้เหมาะสมในการทำงานและการมีปฏิสัมพันธ์กัน
1.6    จัดสาระ วัสดุ หรืองานที่จะให้ผู้เรียนทำ วิเคราะห์สาระ/งาน/หรือวัสดุที่จะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
2. ด้านการสอน ครูควรมีการเตรียมกลุ่มเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน ดังนี้
2.1    อธิบายชี้แจงเกี่ยวกับงานของกลุ่ม
2.2    อธิบายเกณฑ์การประเมินผลงาน
2.3    อธิบายถึงความสำคัญและวิธีการของการพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
2.4    อธิบายวิธีการช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่ม
2.5    อธิบายถึงความสำคัญและวิธีการในการตรวจสอบความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่แต่ละคนได้รับมอบหมาย
2.6    ชี้แจงพฤติกรรมที่คาดหวัง
3. ด้านการควบคุมกำกับและช่วยเหลือกลุ่ม
3.1    ดูแลให้สมาชิกกลุ่มมีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
3.2    สังเกตการณ์การทำงานร่วมกันของกลุ่ม
3.3    เข้าไปช่วยเหลือกลุ่มตามความเหมาะสม
3.4    สรุปการเรียนรู้
4. ด้านการประเมินผลและวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้
4.1    ประเมินผลการเรียน ครูประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ
        4.2    วิเคราะห์กระบวนการทำงานและกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้แบบร่วมมือทั้ง
http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97. ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้ มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด มีการสัมพันธ์กัน มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของ สมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่ม
 http://dontong52.blogspot.com/2010/04/blog-post_21.htmlได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Learning) เป็นการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกัน ช่วยกันเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักศึกษาคนสำคัญ ได้แก่ สลาวิน เดวิดจอห์นสัน และรอเจอร์ จอห์สัน
1. องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1) การพึ่งพาและเกื้อกูลกัน
2) การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด
3) ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ของสมาชิกแต่ละคน
4) การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย
5) การวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม
2. ผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1) มีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น
2) มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น
3) สุขภาพจิตดีขึ้น
3. ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ
2) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือย่างไม่เป็นทางการ
3) กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร

สรุป
จากทฤษฎีข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า  ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นการเรียนรู้โดยอาศัยความสัมพันธ์แบบกลุ่ม ซึ่งภายในกลุ่มจะต้องมีทั้งคนที่เก่ง ปานกลาง และอ่อน อยู่ด้วยกัน เพื่อให้เค้าสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้ อาจจะจัดกลุ่มประมาณ 3-6 คน หรือขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เพื่อให้สามารถช่วยกันเรียนรู้และมุ่งไปสู่เป้าหมายของกลุ่มได้ ซึ่งครูจะต้องมีกิจกรรมให้ทำภายในกลุ่ม และทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการทำงาน และที่สำคัญทฤษฎีนี้มันสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายในกลุ่มได้เป็นอย่างดี

ที่มา
ทิศนา   แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561.
http://dontong52.blogspot.com/2010/04/blog-post_21.html. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561. 

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน
(Constructionism)
ลักขณา  สริวัฒน์. (2557: 188-192). ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า  ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) ทฤษฎีนี้พัฒนาโดยศาสตราจารย์ซีมัวร์ เพเพิร์ท (Papert. 1980) แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology : M.I.T.) ที่ได้มีโอกาสร่วมงานกับเพียเจต์และได้พัฒนาทฤษฎีนี้มาใช้ในวงการศึกษาโดยมีแนวคิดว่าการเรียนรู้ที่ดีและทรงประสิทธิภาพเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะต้องมีกระบวนการสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งที่สนใจนั้นด้วยตนเองและอยู่ในบริบทที่แท้จริงของผู้เรียนเอง จากนั้นผู้เรียนได้มีโอกาสนำความรู้ที่สร้างสรรค์ขึ้นมานั้นไปสร้างสรรค์ชิ้นงานขึ้นมา เป็นการทำให้เห็นความคิดเห็นที่เป็นรูปธรรม เพราะเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดขึ้นมาในโลกก็หมายถึงการสร้างความรู้ในตนเองขึ้นมานั่นเอง หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) จะเป็นการคิดจากทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Work Piece Construction) ที่เป็นผลผลิตจากองค์ความรู้ ดังนั้นผู้สอนจึงควรพิจารณาในการใช้สื่อ เทคโนโลยี วัสดุและอุปกรณ์การเรียนรู้ต่างๆ ที่เหมาะสมในการให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์การเรียนรู้และผลงานของผู้เรียนเองจนเกิดประจักษ์พยานขององค์ความรู้ ทั้งนี้เพเพิร์ทได้ให้แนวคิดว่าสื่อธรรมชาติและวัสดุทางศิลปะส่วนมากสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุในการสร้างสรรค์ความรู้ได้ดี เช่นกัน เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์ เศษไม้ ขวดน้ำพลาสติก หรือของเหลือใช้ต่างๆ เป็นต้น เนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน และการประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้
หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน จำแนกได้ดังนี้
1. หลักการที่ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนลงมือประกอบกิจกรรมการ
เรียนรู้ด้วยตนเองหรือได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีความหมายการเรียนรู้จะได้ผลดีถ้าหากผู้เรียนเข้าใจในตนเอง มองเห็นความสำคัญในสิ่งที่เรียนรู้และสามารถเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เก่า รู้ว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้างและสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา
2. หลักการที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยครูควรพยายามจัดบรรยากาศการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนด้วยตนเอง โดยมีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลาย และเรียนรู้อย่างมีความสุข สามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เก่าได้ ส่วนครูเป็นผู้ช่วยเหลือและคอยอำนวยความสะดวก
3. หลักการเรียนรู้จากประสบการณ์และส่งแวดล้อม หลักการนี้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ร่วมกัน (Social Value) ทำให้ผู้เรียนเห็นว่าเป็นแหล่งความรู้อีกแหล่งหนึ่งที่สำคัญ การสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) เป็นการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมคนออกไปเผชิญโลกในสังคมกว้างขึ้น ถ้าผู้เรียนเห็นว่าคนเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญและสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ ซึ่งเมื่อเขาออกไปก็จะปรับตัวได้ง่ายขึ้นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดีมีประสิทธิภาพ
4. หลักการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ การรู้จักแสวงหาคำตอจากแหล่งความรู้ต่างๆ ด้วยตนเองเป็นผลให้เกิดพฤติกรรมที่ฝังแน่น เมื่อผู้เรียนสามารถเรียนรู้ว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไร (Learn How to Learn)
ทิศนา แขมมณี. (2554 : 96). ได้กล่าวถึงว่าทฤษฎีนี้ไว้ว่า มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้คือ ศาสตราจารย์  ซีมัวร์  เพ เพอร์ท แนวความคิดของทฤษฎีนี้คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนได้มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน 

 ประสบการณ์ใหม่ / ความรู้ใหม่     +     ประสบการณ์เดิม / ความรู้เดิม   =   องค์ความรู้ใหม่

ซีมัวร์ พาร์เพิร์ท (Seymour Papert) ได้ให้ความเห็นว่า ทฤษฎีการศึกษาการเรียนรู้ ที่มีพื้นฐานอยู่บนกระบวนการการสร้าง 2 กระบวนการด้วยกัน     สิ่งแรก คือ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นด้วยตนเอง ไม่ใช่รับแต่ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาในสมองของผู้เรียนเท่านั้น โดยความรู้จะเกิดขึ้นจากการแปลความหมายของประสบการณ์ที่ได้รับ สังเกตว่าในขณะที่เรา สนใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่อย่าง ตั้งใจเราจะไม่ลดละความพยายาม เราจะคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหานั้นจนได้  สิ่งที่สอง คือ กระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด หากกระบวนการนั้นมีความหมายกับผู้เรียนคนนั้น จากที่กล่าวมาสามารถสรุปให้เป็นหลักการต่างๆที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ได้ดังนี้
1. หลักการที่ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หลักการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructionism คือ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยให้ผู้เรียนลงมือประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีความหมาย ซึ่งจะรวมถึงปฏิกิริยาระหว่างความรู้ในตัวของผู้เรียนเอง ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมภายนอก การเรียนรู้จะได้ผลดีถ้าหากว่าผู้เรียนเข้าใจในตนเอง มองเห็นความสำคัญในสิ่งที่เรียนรู้และสามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เก่า(รู้ว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้าง) และสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา และเมื่อพิจารณาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอนโดยปกติที่เกิดขึ้นในห้องเรียนนั้นสามารถจะแสดงได้ดังรูป
ความรู้
ครู ——-ผู้เรียน
2. หลักการที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยครูควรพยายามจัดบรรยากาศการเรียนการสอน ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองโดยมีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลาย(Many Choice) และเรียนรู้อย่างมีความสุขสามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เก่าได้ ส่วนครูเป็นผู้ช่วยเหลือและคอยอำนวยความสะดวก
3. หลักการเรียนรู้จากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม หลักการนี้เน้นให้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ร่วมกัน(Social value) ทำให้ผู้เรียนเห็นว่าคนเป็นแหล่งความรู้อีกแหล่งหนึ่งที่สำคัญ การสอนตามทฤษฎี Constructionism เป็นการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมคนออกไปเผชิญโลก ถ้าผู้เรียนเห็นว่าคนเป็นแหล่งความรู้สำคัญและสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ เมื่อเขาจบออกไปก็จะปรับตัวได้ง่ายและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
        4. หลักการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือการรู้จักแสวงหาคำตอบจากแหล่งความรู้ต่างๆด้วยตนเองเป็นผลให้เกิดพฤติกรรมที่ฝังแน่นเมื่อผู้เรียน “เรียนรู้ว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไร (Learn how to Learn)”
           http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97. ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ไว้ว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism) แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ครูคอยให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถ ใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน
          

สรุป
จากทฤษฎีข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า  ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน เป็นทฤษฎีที่พัฒนาโดยศาสตราจารย์ซีมัวร์ เพเพิร์ท (Papert. 1980) แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์ และใช้ในการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนเข้าใจความหมายในสิ่งที่ตนนั้นสนใจก็ควรที่จะมีกระบวนการคิดสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม เพราะถ้าหากเราได้ลงมือสร้างสิ่งใดขึ้นมาเองมันก็เหมือนการปลูกความรู้ให้แก่ตนเอง พูดง่ายๆว่าทฤษฎีนี้เป็นผลผลิตจากความรู้ ดังนั้นครูผู้สอนควรออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เยนสามารถสร้างสรรค์ผลงานเองได้โดยใช้สิ่งที่มีอยู่รอบตัว เช่น วัสดุอุปกรณ์ หรือเทคโนโลยี เป็นต้น มีหลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน คือ
                  1) หลักการที่ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนๆรู้ด้วยตนเอง เชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่สร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา
                 2) หลักการที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ครูจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีการเรียนรู้ที่หลากหลายตามความถนัดและความสนใจได้
                 3) หลักการเรียนรู้จากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม เน้นให้ผู้เรียนๆ ร่วมกัน เพื่อหาประสบการณ์เผชิญหน้าความเป็นจริง
                 4) หลักการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้  เรียนรู้ว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไร (Learn how to Learn)”

ที่มา
ลักขณา  สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.   
ทิศนา แขมมณี. (2554). การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2561.