วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561

รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning: PBL)


รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem-Based Learning: PBL)
ที่มาของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545 : 11-7). ได้กล่าวถึงการศึกษาความเป็นมาของ PBL สามารถย้อนรอยอดีตไปถึงแนวคิดของนักการศึกษาในช่วงแรกของศตวรรษที่ 20 จอห์น ดิวอี (John Dewey) นักการศึกษาชาวอเมริกันซึ่งเป็นผู้ค้นคิดวิธีสอนแบบแก้ปัญหา และเป็นผู้เสนอแนวคิดว่า การเรียนรู้เกิดจากการลงมือทำด้วยตัวเอง (Learning by Doing) แนวคิดของดิวอีได้นำไปสู่แนวคิด ในการสอนรูปแบบต่างๆที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แนวคิด PBL ก็มีรากฐานแนวคิดมาจากดิวอีเช่นเดียวกัน PBL มีการพัฒนาขึ้นครั้งแรก โดยคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Faculty of Health Sciences) ของ มหาวิทยาลัย McMaster ที่ประเทศแคนนาดาได้นำมาใช้ในกระบวนการติว (Tutorial Process) ให้ กับนักศึกษาแพทย์ฝึกหัด วิธีดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นรูปแบบ (Model) ที่ทำให้มหาวิทยาลัยในสหรัฐ อเมริกานำไปใช้เป็นแบบอย่างบ้าง โดยเริ่มจากปลาย ค.ศ. 1960 มหาวิทยาลัย Case Western Reserve ได้นำมาใช้เป็นแห่งแรก และได้จัดตั้งเป็นห้องทดลองพหุวิทยาการ (Multidiplomacy Laboratory) เพื่อเป็นห้องปฏิบัติการสำหรับรูปแบบการสอนใหม่ๆ รูปแบบการสอนที่มหาวิทยาลัย Case Western Reserve พัฒนาขึ้นมานั้น ได้กลายมาเห็นพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา ทั้งในระดับมัธยมศึกษา ระดับอุดมศึกษาและบัณฑิตวิทยาลัย ในช่วงปลาย ศตวรรษที่ 60 มหาวิทยาลัย McMaster ได้พัฒนาหลักสูตรแพทย์ (Medical Curriculum) ที่ใช้ PBL ในการสอนเป็นครั้งแรกทำให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นที่ยอมรับและรู้จักกันทั่วโลกว่าเป็นผู้นำ
PBL (World Class Leader) ในประเทศไทย การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานเริ่มใช้ครั้งแรกในหลัก สูตรแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2531 และประยุกต์ใช้ในหลักสูตรสาธารณ สุขศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ ทั้งนี้การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นวิธีการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่นำมาปรับใช้ในหลายๆ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ซึ่งการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐานนี้ได้รับ การยอมรับว่าเป็นการเรียนการสอนที่ให้ประสบการณ์ท้าทายความคิด ลักษณะนิสัยและการปฏิบัติ ร่วมกับการแก้ปัญหา เป็นการจูงใจผู้เรียนให้เรียนรู้การแก้ปัญหาโดยผ่านการสืบเสาะหาความรู้ และเรียนรู้ด้วยการค้นพบตนเองและจากการทำงานเป็นกลุ่ม

ความหมายของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
       ยรรยง สินธุ์งาม.ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานว่า เมื่อดูจากรูปคำศัพท์  (Problem – based Learning) Problem (พรอบเบลม)  แปลว่า ปัญหา based  (เบด)  แปลว่า  ฐานหรือพื้นฐาน    Learning  (เลินนิ่ง)  แปลว่า การเรียนรู้  
Problem – based Learning หรือ PBL  ก็คือ วิธีการเรียนรู้วิธีหนึ่ง  ที่มีรูปแบบการเรียนรู้ โดยการนำปัญหามาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้    
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก  เป็นบริบท (context) ของการเรียนรู้    เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา   รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษา ไปพร้อมกันด้วย     การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก

ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
ประภัสรา  โคตะขุน. ได้กล่าวถึงขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานไว้ ดังนี้
1. กำหนดปัญหาจัดสถานการณ์ต่าง ๆ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มองเห็นปัญหากำหนดสิ่งที่เป็นปัญหาที่ผู้เรียนอยากรู้อยากเรียน และเกิดความสนใจที่จะค้นหาคำตอบ
2. ทำความเข้าใจกับปัญหา ผู้เรียนจะต้องสามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อกับปัญหาได้
3. ดำเนินการศึกษาค้นคว้า กำหนดสิ่งที่ต้องการเรียนและดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างหลากหลาย

4. สังเคราะห์ความรู้ ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน อภิปรายผลและสังเคราะห์ความรู้ที่ได้มาว่ามีความเหมาะสมหรือไม่
5. สรุปและประเมินค่าของคำตอบ ผู้เรียนแต่ละกลุ่มสรุปสรุปผลงานของกลุ่มตนเอง ประเมินผลงานว่าข้อมูลที่ได้ศึกษาค้นคว้ามีความเหมาะสมเพียงใด โดยการตรวจสอบแนวคิดภายในกลุ่มของตนเองอย่างอิสระ ทุกกลุ่มร่วมกันสรุปองค์ความรู้ในภาพรวมของปัญหาอีกครั้ง
6. นำเสนอและประเมินผลงาน ผู้เรียนนำข้อมูลที่ได้มาจัดระบบองค์ความรู้และนำเสนอในรูปแบบผลงานที่หลากหลาย ผู้เรียนทุกคนและผู้เกี่ยวข้องกับปัญหา ร่วมกันประเมินผลงาน

ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545 : 11-7). ได้กล่าวถึงลักษณะที่สำคัญของ PBL ได้แก่
1. ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง
2. การเรียนรู้เกิดจากกลุ่มผู้เรียนที่มีขนาดเล็ก
3. ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้ให้คำแนะนำ
4. ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้
5. ปัญหาที่ใช้มีลักษณะคลุมเครือ ไม่ชัดเจนปัญหาหนึ่งอาจมีคำตอบได้หลายคำตอบ
    หรือแก้ไขปัญหาได้หลายทาง
6. ผู้เรียนแก้ไขปัญหาด้วยการแสวงหาความรู้ใหม่ๆด้วยตนเอง
7. ประเมินผลจากสถานการณ์จริง โดยดูจากความสามารถในการปฏิบัติ



ตัวอย่างแผนจัดการเรียนรู้
http://www.krukird.com/02129.pdf. ได้กล่าวถึงแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานไว้ว่า
แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                                                 ระดับประถมศึกษา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 7                                                           เรื่อง การวัดความยาว
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4                                                                 เวลา 2 ชั่วโมง
1. สาระสําคัญ
การวัดความยาว ความสูงและระยะทาง ต้องวัดให้ถูกวิธีควรเลือกใช้เครื่องมือวัดและหน่วยการวัดที่เป็นมาตรฐานและเหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัด
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. เมื่อกําหนดสถานการณ์การวัดความยาวให้ผู้เรียนสามารถวัดความยาว ความสูง หรือระยะทาง และบอกความยาวความสูง หรือระยะทางเป็น กิโลเมตร เมตร เซนติเมตร มิลลิเมตร วา ได้
2. ผู้เรียนปฏิบัติการวัดความยาวจากสถานการณ์ต่างๆได้
3. ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการทํางาน
3. สาระการเรียนรู้
1. เครื่องมือวัดและหน่วยการวัดความยาว
2. วิธีการวัดความยาว ความสูง หรือระยะทาง
4. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 กําหนดปัญหา
- ผู้สอนนําภาพการเปรียบเทียบความยาวให้ผู้เรียนดูแล้วตอบคําถาม 
 เมื่อทุกคนตอบแล้ว ให้ตัวแทนผู้เรียนออกมาวัดความยาว
 จะพบว่ารูปที่ 1 ความยาวของ A และ B เท่ากัน
            รูปที่ 2 ความยาวของ C และ D เท่ากัน
          รูปที่ 3 ทั้งรูป E, F และ G มีส่วนของเส้นตรงที่ขนานกัน
ผู้เรียนหลายคนอาจตอบผิด ซึ่งสิ่งที่มองเห็นอาจไม่จริง เพราะเป็นภาพลวงตา จะให้ถูกต้องแน่นอน ต้องทําการวัดด้วยเครื่องมือที่เหมาะสม และมีมาตรฐาน      
- ผู้สอนสนทนากับผู้เรียนเกี่ยวกับการวัดความยาวว่า ถ้าพูดถึงการวัดความยาว ผู้เรียนคำถึงสิ่งใดบ้าง และผู้เรียนมีความรู้ในเรื่องนั้นอย่างไร
- แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4-5 คนโดยคละเพศ และระดับความสามารถให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันกำหนดปัญหาที่จะศึกษาค้นคว้า เช่น
- เครื่องมือวัดความยาวมีอะไรบ้าง มีลักษณะอย่างไร ใช้วัดสิ่งใด
- มีวิธีการใช้เครื่องมืออย่างไร
- หน่วยการวัดความยาวมีอะไรบ้าง
ขั้นที่ 2 ทําความเข้าใจปัญหา
แต่ละกลุ่มทําความเข้าใจกับปัญหาในประเด็นต่อไปนี้
- ปัญหาคือ อะไร, อะไรคือสิ่งที่ไม่รู้และหากต้องการรู้จะหาคําตอบได้จากที่ใดเช่น          
ปัญหา
สิ่งที่ต้องรู้
แหล่งข้อมูล
เครื่องมือการวัดความยาวที่มีใช้ในปัจจุบัน มีอะไรบ้าง
มีวิธีใช้อย่างไร
- ชนิดของเครื่องมือวัด
ความยาว
- ลักษณะหรือส่วนประกอบ
ของเครื่องมือ
- การใช้เครื่องมือวัดความ
ยาว
- ใบความรู้
-หนังสือค้นคว้า
- ห้องสมุด
- ถามผู้สอน ฯลฯ
หน่วยการวัดความยาวมี
อะไรบ้าง
- หน่วยการวัดความยาวที่เป็นมาตรฐานสากล
- หน่วยการวัดความยาวของไทย
- ใบความรู้
-หนังสือค้นคว้า
- ห้องสมุด
- ถามผู้สอน ฯลฯ

ขั้นที่ 3 ดําเนินการศึกษาค้นคว้า
แต่ละกลุ่มวางแผนการศึกษาค้นคว้า โดย
- กําหนดวิธีการและแหล่งข้อมลู
- แบ่งหน้าที่ในการปฏิบัติงาน
- ลงมือดําเนินการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และบันทึกผลการศึกษา ในแบบบันทึกการศึกษาค้นคว้าและแก้ปัญหา (ตอนที่1)
ขั้นที่ 4 สังเคราะห์ความรู้
- สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มนําข้อมูลที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาร่วมกันอภิปรายว่า ความรู้ที่ได้มานั้นมีความถูกต้องเหมาะสมเพียงพอและตอบคําถามหรือปัญหาที่กําหนดไว้หรือไม่
- ผู้สอนให้คําแนะนําเพิ่มเติมในแต่ละกลุ่ม
ขั้นที่ 5 สรุปและประเมินค่าของคำตอบ
- สมาชิกแต่ละกลุ่มช่วยกันสรุปผลการศึกษาค้นคว้าในแบบบันทึกการศึกษาค้นคว้าและการแก้ปัญหา ( ตอนที่ 2 )พร้อมทั้งเขียนเป็นแผนที่ความคิดตามใบงานที่ 1
- สมาชิกในกลมรุ่ ่วมกันประเมินผลงานของกลุ่ม
- ทําใบงานที่ 2-5 เพื่อฝึกทักษะการวัดความยาว
ขั้นที่ 6 นำเสนอและประเมินผลงาน
- แต่ละกลุ่ม นําเสนอผลงานหนาชั้นเรียนในเรื่องเครื่องมือการวัดความยาว ,หน่วยการวัด, ความยาว ,วิธีการวัดความยาว ,การทํางานของกลุ่ม
- เพื่อนๆ และผู้สอนร่วมกันประเมินผลงาน
- ผู้สอนเสนอแนะความรู้เพิ่มเติม
5. สื่อและแหล่งเรียนรู้
สื่อ
- ภาพการเปรียบเทียบความยาว
- ภาพ เครื่องมือวัดความยาว
- เครื่องมือวัดความยาว ชนิดต่างๆ เช่น ตลับเมตร ,สายวัด ,ไม้บรรทัด ,ไม้เมตรฯลฯ
- สิ่งของที่นํามาวัดความยาว / ความสูง
- ใบความรู้เรื่องการวัดความยาว
- ใบงานที่ 1 – 5 เรื่องการวัดความยาว
- หนังสือค้นคว้าเช่น แบบเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ฯลฯ
 - แบบบันทึกการศึกษาค้นคว้า / แก้ปัญหา
แหล่งเรียนรู้ ห้องสมุดโรงเรียนห้องคอมพิวเตอร์บุคคล / ผู้รู้ฯลฯ
6. กระบวนการประเมินผล

สิ่งที่ต้องการประเมิน
วิธีการ
วิธีการ เครื่องมือ
เกณฑ์การผ่านการประเมิน
ความรู้
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือการวัดความยาวและหน่วยการวัดความยาว
ตรวจผลงาน
แบบบันทึกการตรวจผลงาน (แบบบันทึการศึกษาค้นคว้าและแก้ปัญหา,ใบงานที่1,5)
ได้คะแนนเฉลี่ย 60% ขึ้นไป
ทักษะ
- ทักษะในการวัดความยาว
ตรวจผลงาน
แบบบันทึกการตรวจผลงาน ( ใบงานที่2 – 4)
ได้คะแนนเฉลี่ย 60% ขึ้นไป
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
- ความรับผิดชอบในการทํางาน
สังเกต
พฤติกรรม
แบบบันทึกการสังเกต
พฤติกรรม
ได้คะแนนเฉลยี่ 2
( ดี) ขึ้นไป

แบบบันทึกการศึกษาค้นควาและการแก้ปัญหา
สาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง..........................................
กลุ่มที่................
สมาชิก
1................................................................. ประธาน
2................................................................. เลขานุการ
3.................................................................
4.................................................................
5.................................................................
ตอนที่ 1
หัวข้อปัญหา ..................................................................................................................
ทําความเข้าใจปัญหา
·      สิ่งที่ต้องการรู้.....................................................................................
·      วิธีการหาคําตอบ......................................................................................
·      แหล่งข้อมลู ...................................................................................
การศึกษาค้นคว้า / แก้ปัญหา
ชื่อสมาชิก
การแบ่งหน้าที่
แหล่งข้อมูล
ผลการศึกษา












ตอนที่ 2
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า/แก้ปัญหา
………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………...........
………………………………………………………………………………………………………………………………

ที่มา
มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2545). การพัฒนาคุณภาพการเรียนรูโดยใช้ PBL (Problem-Based Learning). วิชาการ. 2(2), 11-17.
ยรรยง สินธุ์งาม. http://www.vcharkarn.com/blog/37131. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2561.
ปภัสรา  โคตะขุน. https://sites.google.com/site/prapasara/a2-5. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2561.
http://www.krukird.com/02129.pdf. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2561.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น